ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามไข่มุกแห่งมหาสมุทรอินเดียมีพื้นที่ 65,610 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอยู่ที่ราว 22.7 ล้านคน ศรีลังกาใช้ภาษา “สิงหล” เป็นภาษาหลักและยังใช้อีกหลายภาษา อาทิ อังกฤษ ทมิฬ และฮินดี
ศรีลังกาซึ่งล้อมรอบด้วยชายหาดที่สวยงามชวนหลงใหลมีอากาศและสภาพแวดล้อมแบบอบอุ่นปานกลางและไม่หนาวเย็นนัก ศรีลังกา สวรรค์อันตรึงตราสำหรับนักท่องเที่ยว ได้รับความชื่นชมจากนักท่องเที่ยว/นักเดินทาง/นักสำรวจ/นักวิชาการต่างชาติด้วยมรดกทางประวัติศาสตร์ที่มี ศรีลังกาขึ้นชื่อในเรื่องการต้อนรับด้วยไมตรีจิตและประเทศนี้ยังโด่งดังในฐานะหนึ่งในประเทศชั้นนำในรายการมรดกโลก ภาคส่วนเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ชา มะพร้าว และยางพารา คือผลิตผลหลักที่ปลูกกันในประเทศ
ศรีลังกาไม่มีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์/ศาสนา ผู้คนจากหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สิงหล ทมิฬ มุสลิม และเบอร์เกอร์ (ลูกครึ่งศรีลังกา-โปรตุเกส) อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ ชาวศรีลังกาทั้งหมดที่มีวัฒนธรรมทางศาสนาหลากหลายมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาของตนเอง นี่คือประเทศที่มีความกลมเกลียวทางศาสนาอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การไปเยือนโบสถ์คริสต์ของชาวพุทธและการไปเยือนวิหารพุทธของชาวคริสต์ เมื่อเป็นเช่นนี้วิหาร โบสถ์ และวัด จึงเป็นศูนย์กลางศาสนาที่เปิดต้อนรับทุกคน
ต้นกล้าของต้นศรีมหาโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ของขวัญสำหรับประเทศไทย ถูกนำไปปลูกไว้ที่วัดวชิรธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยร่วมในพิธีด้วย
นายกามินี จายาวิคกรามะ เปเรร่า, รัฐมนตรีกระทรวงพุทธศาสนา ได้รับมอบหมายจากประธานาธิบขดีสิริเสนา ให้เป็นผู้แทนพิเศษในการเข้าร่วมในพิธีประดิษฐานหน่อต้นโพธิ์ดังกล่าว โดยท่านรัฐมนตรีมีคณะสงฆ์นำโดยพระคุณเจ้าอัตตมะธนาธิบดี ดอกเตอร์ปัลเลกามะ สิรินิวาสะ เถระ โดยมีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติของไทย รวมทั้งคณะพระสงฆ์ให้การต้อนรับคณะจากประเทศศรีลังกา ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีรับหน่อศรีมหาโพธิ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว ก็ได้อัญเชิญหน่อศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางหน่อศรีมหาโพธิ์บนขบวนหลังช้างตามแบบวัฒนธรรมของศรีลังกา พิธีดังกล่าวนี้ประกอบไปด้วยพระสงฆ์จำนวนมากจากทั้งสองประเทศ ผู้แทนนักการเมือง สมาชิกพี่น้องชาวศรีลังกาในประเทศไทย ตลอดจนพี่น้องชาวไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี หน่อศรีมหาโพธิ์ถูกประดิษฐาน ณ วัดวชิรธรรมมาราม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้กล่าวถึงต้นหน่อศรีมหาโพธิ์นี้ว่า เป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ประเทศศรีลังกามีน้ำใจมอบให้แก่รัฐบาลไทย และพิธีประดิษฐานดังกล่าวนี้ก็นับว่ามีความหมายยิ่งนัก ถือเป็นสิริมงคลทั้งต่อพุทธศาสนิกชนและคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง
โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณประธานาธิบดีและรัฐบาลศรีลังกา โดยระบุว่าทั้งสองชาติเป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นยิ่ง นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับของขวัญล้ำค่าอันเป็นหน่อของต้นโพธิ์เก่าแก่จากเมืองอนุราธปุระ ซึ่งก็เป็นหน่อของต้นศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขณะประทับอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ดังกล่าว
ต้นกล้าของต้นศรีมหาโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ของขวัญสำหรับประเทศไทย ถูกนำไปปลูกไว้ที่วัดวชิรธรรมาราม จังหวัดอยุธยา ประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยร่วมอยู่ในพิธีการด้วย
ของขวัญสำคัญที่สุดที่ศรีลังกาเคยได้รับจากต่างประเทศอย่างสารแห่งพระโคตมพุทธเจ้าได้นำปรัชญาทางศาสนาที่มีเอกลักษณ์พร้อมกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบใหม่มาสู่ผู้คนในประเทศนี้
คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระไตรปิฎกถูกนำมาเผยแพร่เป็นภาษาบาลีโดยพระอรหันต์มหินทะเถระ และถูกสืบทอดแบบมุขปาถะมาหลายชั่วรุ่นจนกระทั่งถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานเมื่อศตวรรษที่ 1 ที่อลุวิหาระ หรือที่เรียกกันว่าอโรคาวิหารในเมืองมาตะเล
พระไตรปิฎกได้รับการประกาศให้เป็นมรดกแห่งชาติโดยประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนะ ในฐานะก้าวสำคัญในการยกสถานะที่ควรได้มาแสนนานให้กับพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกภาษาบาลีถือเป็นรากฐานสำคัญของธรรมเนียมพุทธของชาวศรีลังกา พระไตรปิฎกประกอบไปด้วยพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก รวมถึงอรรถกถาและฑีฆา
นี่คือหนึ่งในมรดกทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งสืบทอดกันมาหลายชั่วคน โดยการฟังการท่องจำ จากการสังคายนาครั้งแรก (สภาชาวพุทธแห่งแรก) ไปจนถึงการจารึกพระไตรปิฎกที่อลุวิหาระ ที่เมืองมาตะเลในศตวรรษที่ 1 พระมหาเถระและศิษยานุศิษย์หลายรุ่นได้อนุรักษ์พระธรรมเอาไว้ในรูปแบบมุขปาถะ
เบอร์แทรม จี. ลิยาเนจ หนึ่งในคณะบรรณาธิการสารานุกรมพุทธศาสนากล่าวว่าหนึ่งในปัญหาที่พบก็คือคำถามที่ว่าพระไตรปิฎกนั้นถูกต้องตรงตามถ้อยคำดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าที่สุดจริงหรือไม่